วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ข้อคิดจาก DESIGN ARMY's Talk - Dec 21st, 2009 / Bangkok

ข้อคิดจากการเข้าฟังบรรยายของ DESIGN ARMY
  • สำหรับ design การทำ research ศึกษา ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลถือว่า สำคัญมาก
  • การทำงานด้วยมือ การ sketch ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในการจัดระบบหมวดหมู่ทางความคิด ตัวอย่างเช่น คุณ Jake sketches หนังสือประมาณ 82 หน้าด้วยมือทั้งเล่ม เพื่อเป็นตัวอย่าง mock up, dummy, composition, art direction, image, typo, layout system ให้ลูกค้าดู
  • เล่าให้เห็นถึงความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรมที่มีผลต่อวิชาชีพออกแบบ
  • การให้ความยอมรับ เชื่อถือในวิชาชีพออกแบบ โดยถือว่านักออกแบบคือผู้เชื่ยวชาญเฉพาะทาง เปรียบได้กับ สถาปนิก ทนายความ ฯ
  • เทคโนโลยีที่พัฒนาปรับปรุงไปเรื่อยๆ ตามเวลา+ยุคสมัย ตัวอย่างเช่น magazine online, การตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดเพื่อช่วยลดสภาวะโลกร้อน

วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2552

งานปล่อยแสง 5 เสาร์ที่ 26 ธันวาคม + นิทรรศการรวมผลงานออกแบบกราฟิกของวรุฒม์ ปันยารชุน

"WAROOT RETROSPECTIVE" at Ploy Seang 5 - วรุฒม์ ปันยารชุน
เชิญ ร่วมชมนิทรรศการรวมผลงานของวรุฒม์ ปันยารชุน นักออกแบบกราฟิกเจ้าของผลงานปกอัลบั้มต่างๆ ของศิลปินในค่ายเบเกอรี่มิวสิคและการบรรยายเกี่ยวกับขั้นตอนการผลิตงาน กราฟิกเพื่อวงการเพลง

พบกันที่งานปล่อยแสง 5 เสาร์ที่ 26 ธันวาคมนี้ 14.00 น. หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
http://www.tcdc.or.th/ploy-saeng/ploy-saeng-5-details.html

* น่าไปฟังนะครับ *



วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บรรยาย / สัมนา / นิทรรศการ ทางด้านออกแบบที่น่าสนใจและควรไปชม

สองงานที่น่าสนใจ + ควรไปชมและฟังนะครับ ถ้าใครไปให้มาแจ้งหรือถ่ายรูปตัวเองในงานมาจะเพิ่มคะแนนให้ครับ

www.arch.kmutt.ac.th/freshfestival/

What is FRESH?

งาน เฟรช ครั้งที่ 3 เทศกาลวิดีโออาร์ตและหนังสั้นนานาชาติ 2009 จัดขึ้นในเดือนธันวาคม 2552
เดือน ธันวาคมนี้พบกับ “เฟรช” เทศกาลวิดีโออาร์ตและหนังสั้นนานาชาติ งานเทศกาลสำคัญในปฏิทินเทศกาลของกรุงเทพมหานครซึ่งจัดเป็นครั้งที่ 3 ณ โรงภาพยนตร์ เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ชั้น 9 ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เวิลด์ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 18 ถึง วันอาทิตย์ที่ 20ธันวาคม

- - - - - - - - - - - - - - - - - -



- http://www.art4d.com/lecture/

Design Company > บรรยาย

วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Design > Theory > Research

Research Topics > 2 คนต่อ 1 หัวข้อ
  1. นิตยสาร Emigre (USA.) VS. นิตยสาร 8VO (UK.)
    แนวคิด postmodern กับทฤษฎี “The New Discourse” ของ Cranbrook Academy of Art
  2. Bauhaus’s Modernism
    International Typographic Style (Swiss Style) ในสวิตเซอร์แลนด์และทั่วโลก
  3. Basel School of Design ในสวิตเซอร์แลนด์
    Armin Hofmann และ Wolfgang Weingart ใช้วิธีการสอน/ใช้แนวคิดแบบ postmodern
  4. April Greiman
    ผู้นำ (California) New Wave ใน USA. / ผลงานในยุค pre-digital และ post digital
  5. Katherine McCoy
    Deconstruction ทางความคิด / Cranbrook Academy of Art
  6. Josef Muller-Brockmann นิตยสาร New Graphic Design
  7. การก่อตั้ง type foundry ในช่วงเริ่มต้นของยุคดิจิทัลและการใช้ e-commerce ในการจำหน่าย font
  8. Baskerville (1757) VS. Helvetica (1961) จัดจำหน่ายโดย Linotype
  9. นิตยสาร RayGun และ David Carson
  10. Bauhaus Style การใช้ grid / photomontage ฯลฯ
  11. Swiss Style การใช้ phototype setting (เทคโนโลยีการเรียงพิมพ์ด้วยแสง) ฯลฯ
  12. "ชวนพิมพ์” และ “มาณพติก้า” แบบตัวอักษรภาษาไทยที่ได้รับอิทธิพลจาก Helvetica
  13. "BLUR” font ออกแบบโดย Neville Brody
    แบบตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ได้รับอิทธิพลจาก Helvetica
  14. "Universal Alphabet” Font ที่ออกแบบโดย Herbert Bayer, 1925
  15. "Helvetica” สัญลักษณ์ของ Modernist’s Sans Serif
  16. Experimental Jetset / Michael C. Place / Norm คนรุ่นใหม่ที่ยังชื่นชมและใช้ Helvetica ในงานออกแบบ
  17. Erik Spiekermann นักออกแบบ typeface ชาวเยอรมนี
  18. Wim Crouwel นักออกแบบ typeface ชาวดัชต์ (เนเธอร์แลนด์)
  19. Jonathan Hoefler & Tobias Frere-Jones (H&FJ) นักออกแบบ typeface รุ่นใหม่

เสนอในวันอังคารที่ 29 ธ.ค. 52 ในชั่วโมงเรียน สิ่งที่จะต้องส่งมีดังนี้
  1. ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูลโดยละเอียดและภาพประกอบของหัวข้อที่กลุ่มตนได้รับมอบหมาย นำไป up load บน blog ของตนและทำเป็น pdf ไฟล์
  2. นำเนื้อหาสรุป ใจความสำคัญจากข้อ 1 มาออกแบบ poster ขนาด A2 จำนวนอย่างน้อย 2 แผ่นขึ้นไป
  3. present รายละเอียดของหัวข้อที่ศึกษาค้นคว้ามาในรูปแบบ pdf ไฟล์ ฉายผ่าน projector กลุ่มละอย่างน้อย 5 นาที
  4. ส่งแผ่น cd จำนวน 2 แผ่น ที่รวบรวมงานในข้อ 1, 2, 3 ของทุกกลุ่ม โดยสร้าง folder ของแต่ละกลุ่มและรวบรวมลงในแผ่น cd สำหรับ อ.บอลล์และ อ.บลู

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

Project 1 > Final Presentation

100% Final Presentation on 8 ธันวาคม 2552

สิ่งที่นักศึกษาจะต้องเสนอในวันตรวจงาน 100% มีดังนี้
  1. ตัวงานผลงาน
  2. แนวความคิด เสนอในขนาด A2 ซึ่งประกอบด้วย ชื่อโครงการ / ที่มาของโครงการ / วัตถุประสงค์ ฯ
  3. Design Proposal จำนวน 2 ชุด
  4. แฟ้มรวบรวมกระบวนการทำงานทั้งหมด
  5. จัดนิทรรศการแสดงงาน
บางตัวอย่างของงาน 100% ภายในหนึ่งสัปดาห์ครับ ไม่ได้ถ่ายงานทุกชิ้นเพราะแบตหมด ! !

วันพฤหัสบดีที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ดีไซน์ + คัลเจอร์ เล่ม 1

ดีไซน์ + คัลเจอร์ เล่ม 1 ยังมีเหลืออีก 5 เล่มที่ อ.ป๊อปครับ ถ้านักศึกษท่านใดสนใจจะครอบครองเพื่อใช้อ่านประกอบการเรียนและการสอบของทั้งสองวิชาครับ

วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Project 1 > Visual Research > 3rd presentation

3rd presentation > Nov 24th, 2009




* ในสัปดาห์หน้า 1 ธันวาคม เวลา 10.00 น ให้นักศึกษาส่ง
  1. เสนอ Design Proposal > Project ของคุณ คนละ 2 โครงการ = โครงการ A และโครงการ B / ส่งสำเนาโครงการละ 3 ชุด = 6 ชุด
  2. ส่งแฟ้มรวบรวมงาน Visual Research ทั้ง 3 สัปดาห์
  3. โพสต์กระบวนการ Visual Research ต่างๆ ที่นักศึกษาได้ทำมาทั้ง 3 สัปดาห์ไว้ใน blog ของตน

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Project I > 1st presentation

10/11/52 > on site Visual Research at สยาม / ข้าวสาร / จตุจักร / อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เสนอในรูปแบบ
  • Typography
  • Photography
  • Motion Graphic